วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
Wat Phra Mahathat Woramaha Wihan
เป็นวัดที่เชื่อกันว่าพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ ก่อสร้างในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ราวปี พ.ศ. 0719 ในคราวตั้งเมืองนครศรีธรรมราชที่หาดทรายแก้ว ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เป็นปูชนียสถานซึ่งพุทธศาสนิกชนในจังหวัดภาคใต้และทั่วประเทศรู้จักและนับถือ ถือเป็นหนึ่งในเจ็ดที่เป็น "พระมหาเจดีย์" ในประเทศไทย
ศาสนาพราหมณ์และศาสนาอิสลาม
ศาสนาพราหมณ์ มีกำเนิดในชมพูทวีป (หรือประเทศอินเดีย) เริ่มแพร่มาในภาคใต้ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นอย่างน้อย โดยอาศัยพราหมณ์ (หรือฮินดู) ส่วนหนึ่ง ซึ่งเดินทางโดยเรือข้ามสมุทรอินเดียมาขึ้นฝั่งทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก แล้วเดินบกข้ามเขามายังนครศรีธรรมราช และส่วนหนึ่งข้ามช่องแคบมะละกะเข้าสู่อ่าวไทย มาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน
ศาสนาอิสลาม เริ่มแพร่มาในภาคใต้และหัวเมืองมลายู ซึ่งเคยเป็นประเทศราชของไทยครั้งรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นผลให้เจ้าผู้ครองหัวเมืองมลายูหลายคนหันไปนับถือศาสนาอิสลาม เช่น ปัตตานี หนองจิก ยะรัง ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิศ ครั้นเกิดความขัดแย้งกับหัวเมืองเหล่านี้ กรุงศรีอยุธยาในฐานะราชธานีได้มอบหมายให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายูไปปราบปราม และกวาดต้อนผู้คนมาไว้ในนครศรีธรรมราชเสมอ โดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้ไปทำศึกกับเมืองไทรบุรีถึงห้าครั้ง และได้กวาดต้อนครัวเรือนชาวมุสลิมเข้ามาไว้ในนครศรีธรรมราชและใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก

วัดสำคัญและประเพณีทางศาสนา
Temples and Religious Festivals
งานบุญและงานประเพณีของเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวเสมือน
การเล่าเรื่องประวัติ ความเป็นมาและความเชื่อต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมาจากยุคหนึ่งสู่ยุคหนึ่งเกิดก่อเป็นตำนาน และผูกพันกันอย่างลงตัว กับวิถีชีวิตของคนนคร ทำให้ ณ วันนี้ประเพณีต่าง ๆ ของเมืองนครเป็นเสมือนเอกลักษณ์สำคัญทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แสดงออกถึง
ความเป็นคนนครได้อย่างแท้จริง

- งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนคร (แห่นางดาน)
- สารทเดือนสิบเมืองคอน
- ประเพณีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ
- ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
- ประเพณีลากพระ
- ประเพณีให้ทานไฟ